การทํา if มีกี่แบบ การอดอาหาร เพื่อหวังผลลัพธ์ของการลดน้ำหนักนั้น เป็นวิธีที่หลายต่อหลายคนเลือกใช้ เนื่องจากให้ผลลัพธ์ทันใจ และไม่ต้องออกกำลังกายให้เหนื่อย โดยหนึ่งในวิธีการลดน้ำหนักที่กำลังเป็นที่นิยมกันในขณะนี้ก็คือ การลดน้ำหนักด้วย การทำ IF (Intermittent Fasting) แต่การลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้จะได้ผลจริงและดีต่อสุขภาพหรือไม่นั้น ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้น รวมถึงข้อดีและข้อเสียให้คุณได้ลองเลือกดู
การทํา if มีกี่แบบ Intermittent Fasting หรือ IF คืออะไร
การทํา if มีกี่แบบ Intermittent Fasting หรือ IF เป็นรูปแบบการอดอาหารที่มีวงจรการอดอาหารเป็นช่วงเวลา ไม่ใช่การอดอาหารตลอดทั้งวันหรือทุกวัน และไม่มีการจำกัดว่าจะต้องรับประทานอาหารประเภทไหนหรือชนิดใดด้วย ข้อจำกัดเดียวของหลักการอดอาหารแบบ IF ก็คือ การจำกัดช่วงเวลาในการรับประทานอาหารและช่วงเวลาที่ต้องอดอาหาร
IF มีกี่ประเภท?
การทำ IF มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
- การอดอาหารแบบ 5:2 (The twice-a-week method – 5:2)
การอดอาหารแบบ 5:2 หรือก็คือการอดอาหารสองวันต่อสัปดาห์ เป็นรูปแบบการอดอาหารที่จะเลือกวันสำหรับอดอาหารไว้แค่เพียงสองวันต่อสัปดาห์ และสองวันนั้นจะต้องทานอาหารให้ได้ปริมาณแคลอรีรวมกัน 500 แคลอรี เช่น เลือกอดอาหารวันจันทร์กับวันพุธ ดังนั้น ทั้งสองวันนี้จะต้องรับประทานอาหารรวมพลังงานให้ได้ 500 แคลอรี กล่าวคือ วันจันทร์รับประทานได้ 200 แคลอรี และวันพุธอีก 300 แคลอรี สำหรับการอดอาหารด้วยวิธี 5:2 นั้น ควรจะเน้นการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์และโปรตีนสูง - การอดอาหารแบบวันเว้นวัน (Alternate day fasting)
การอดอาหารแบบวันเว้นวัน คือ รูปแบบการอดอาหารที่จะทำสลับกับวันที่รับประทานอาหารในรูปแบบปกติ กล่าวคือ วันนี้ให้รับประทานอาหารตามปกติ โดยสามารถที่จะรับประทานอะไรก็ได้ แต่วันต่อมาจะต้องจำกัดปริมาณแคลอรีไว้แค่เพียง 500 แคลอรีต่อวันเท่านั้น - การอดอาหารแบบจำกัดช่วงเวลา (Time-restricted eating)
การอดอาหารด้วยวิธีการจำกัดช่วงเวลาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการความยืดหยุ่นของเวลาในการรับประทานอาหาร เพราะสามารถเลือกช่วงเวลาที่ต้องการอดอาหาร และวางแผนช่วงเวลาในการรับประทานได้อย่างเป็นระบบ สำหรับ IF ในรูปแบบนี้ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การอดอาหารสูตร 16:8 ซึ่งสามารถทำได้โดย ในหนึ่งวันนั้นจะรับประทานอาหารได้เพียง 8 ชั่วโมง และอดอาหารให้ได้ 16 ชั่วโมง โดยช่วงเวลาที่ถูกเลือกนำไปใช้มากที่สุด คือ การอดอาหารในช่วงกลางคืนไปจนถึงช่วงเที่ยงของอีกวันและจะไม่รับประทานอาหารเช้าด้วย เช่น การรับประทานอาหารในช่วง 11 โมง ไปจนถึง 1 ทุ่ม หรือ รับประทานอาหารในช่วงเที่ยงไปจนถึง 2 ทุ่ม และช่วงเวลาหลังจากนั้นก็จะไม่มีการรับประทานอาหารอีก จนกว่าจะครบ 16 ชั่วโมง ตามที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่กำลังอดอาหารนั้น ยังสามารถที่จะดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารที่ไม่มีแคลอรีได้ เช่น กาแฟดำหรือน้ำอุ่น ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือตามต้องการ - การอดอาหารแบบทั้งวัน (The 24-hour fast)
การอดอาหารแบบทั้งวัน หรืออดอาหารตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง โดยมากแล้วมักจะเลือกอดอาหารตั้งแต่มื้อเช้าของวันนี้ ไปจนถึงช่วงเวลาอาหารเช้าของอีกวัน หรือมื้อเที่ยงของวันนี้ ไปจนถึงช่วงมื้อเที่ยงของอีกวัน ซึ่งจะทำกันประมาณ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การอดอาหารประเภทนี้เป็นวิธีที่มีผลเสียทางสุขภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการปวดศีรษะ มีผลต่ออารมณ์หรือสร้างความหงุดหงิด ทำให้ร่างกายอ่อนล้า ขาดพลังงานและขาดสมาธิ และอาจรู้สึกหิวจนทนไม่ไหว
ผลดีของการทำ IF ต่อสุขภาพ
การอดอาหาร แม้จะฟังดูแล้วไม่ค่อยส่งผลดีต่อสุขภาพ เนื่องจากร่างกายควรจะต้องได้รับสารอาหารที่สมบูรณ์และเพียงพอ เพื่อให้มีพลังงานอย่างเต็มที่ พร้อมที่จะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม หากมีการอดอาหารด้วยวิธีที่เหมาะสม อย่างการอดอาหารแบบ Intermittent Fasting หรือการทำ IF ก็อาจให้ผลดีต่อสุขภาพได้ ดังนี้
- ช่วยลดน้ำหนัก
เนื่องจากมีการอดอาหารที่จำเป็นจะต้องลดและจำกัดปริมาณของแคลอรีในแต่ละวัน จึงมีผลช่วยในเรื่องของน้ำหนักและการลดไขมันที่หน้าท้อง - ลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance)
การอดอาหารเป็นระยะ อาจมีผลช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ประมาณ 3-6 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงระดับอินซูลินในอาหารก็จะลดลงมากถึง 20-31 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการที่ระดับอินซูลินลดลงนี้ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ (Type 2 diabetes; T2D) - ดีต่อสุขภาพหัวใจ
ช่วงเวลาที่มีการอดอาหาร มีผลดีในส่วนที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เช่น ระดับของคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี หรือ LDL ลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ลดไขมันในเลือด เป็นต้น
ผลเสียของการทำ IF ต่อสุขภาพ
แม้การทำ IF จะให้ผลดีในเรื่องของการลดน้ำหนัก แต่ก็ยังมีข้อควรระวังที่อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาในภายหลัง ได้แก่
- มีผลต่ออารมณ์
การอดอาหารมีผลทำให้รู้สึกหิว ซึ่งความหิวสามารถที่จะส่งผลลัพธ์ทางอารมณ์ที่อาจจะก่อให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิดมากขึ้น - ไม่เหมาะกับสุขภาพของทุกคน
ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ และผู้ที่มีปัญหาการกินผิดปกติ เช่น โรคคลั่งผอม (Anorexia) โรคบูลิเมียหรือโรคล้วงคอ (Bulimia) ไม่ควรทำการอดอาหาร เนื่องจากจะส่งผลต่ออาการทางสุขภาพและสุขภาวะที่เป็นอยู่
นอกจากนี้ การอดอาหารยังส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงแบบเห็นได้ชัด ดังนี้
- พลังงานลดลง
- อารมณ์หงุดหงิดง่าย
- รู้สึกหิว
- รู้สึกง่วง
- อุณหภูมิในร่างกายผิดปกติ
- ขาดสมาธิ
- ศักยภาพในการทำงานลดลง
การทำ IF เป็นวิธีที่ปลอดภัยหรือไม่
การลดน้ำหนักโดยใช้หลักการ IF สามารถที่จะทำได้ทุกคน และเห็นผลลัพธ์จริง หากมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม ยกเว้นผู้ที่ปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น สตรีที่ตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร ผู้ที่มีปัญหาการกินผิดปกติ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่ควรทำการอดอาหารอย่างยิ่งไม่ว่าจะด้วยวิธีแบบใดก็ตาม เพราะอาจเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ยิ่งไปกว่านั้น การอดอาหารด้วยวิธี IF หรือการอดอาหารรูปแบบอื่น ๆ ควรจะต้องอยู่ในขอบข่ายคำแนะนำของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้ประเมินความเสี่ยงและข้อควรระวังที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพขณะที่ทำการอดอาหาร
แต่ไม่ว่าจะเลือกลดน้ำหนักด้วยวิธีการไหนและปฏิบัติอย่างระมัดระวังอย่าง แต่การเจ็บป่วยก็เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ คุณเองก็สามารถเพิ่มความอุ่นใจให้กับตนเองมากขึ้นได้ด้วย “ประกันสุขภาพ” ที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วย ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือกรอกแบบฟอร์มเพื่อให้เจ้าหน้าที่เราให้คำแนะนำในการเลือกแผน “ประกันสุขภาพ” ที่เหมาะกับคุณ คลิกที่นี่ การทํา if มีกี่แบบ